ตอนนี้ แทบจะเป็นกระแส ติดโซลาร์เซลล์ กัน มีบริษัท, ผู้รับเหมา ติดตั้งโซล่าเซลล์ กันเยอะแยะเต็มไปหมด ว่าแต่... จะตัดสินใจติดโซล่า คุณต้องรู้อะไรบ้าง?
1. บ้านของเราเหมาะกับการติดตั้ง Solar Rooftop หรือไม่ ?
ตรวจสอบทิศทางหลังคา พื้นที่ว่าง และความแข็งแรงของโครงสร้าง ทิศที่เหมาะสมกับการติดตั้งที่สุดคือ ทิศใต้ รองมาคือ ทิศตะวันตก, ทิศตะวันออก ส่วนทิศที่ไม่ควรติด คือ ทิศเหนือ
เหตุผลที่ทิศใต้เหมาะสมที่สุด เนื่องจาก
1 ) รับแสงแดดเต็มที่: ในประเทศไทย แสงแดดส่องมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศใต้จึงรับแสงแดดโดยตรงตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะช่วงหนาว 2 ) แสงแดดสม่ำเสมอ: ทิศใต้ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ ต่างจากทิศตะวันออก ที่ได้รับแสงแดดน้อยในช่วงเช้า และทิศตะวันตก ท่ีได้รับแสงแดดน้อยในช่วงเย็น 3 ) อุณหภูมิ: ทิศใต้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ช่วยพัดพาความร้อนออกไป ทำให้อุณหภูมิที่แผงโซล่าเซลล์รับไม่สูงจนเกินไป ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า 4 ) เงา: ทิศใต้มีโอกาสโดนเงาแดดน้อยกว่าทิศอื่นๆ
พื้นที่โดยรอบไม่มี อาคารสูง ต้นไม้สูง ป้ายโฆษณาสูง บังแดดบ้าน
ความแข็งแรงโครงสร้างหลังคา ปัจจัยนี้ ควรใช้วิศวกร เป็นผู้ประเมิน โครงสร้างรับน้ำหนักของหลังคา เพื่อความปลอดภัยของท่าน ซึ่ง บริษัทฯ โซล่าเซลล์ ที่ได้มาตรฐาน จะมีวิศวกร ให้บริการ สำรวจระบบไฟฟ้า และโครงสร้างอาคาร หลังคา ทำรายงานให้ท่านก่อน ตัดสินใจติดตั้ง
2. หลังคาบ้านเราเหมาะกับการติดตั้งหรือไม่ ?
วัสดุที่ใช้ มุมองศา และความลาดชัน
3. ติดตั้งขนาดเท่าไร จึงจะเหมาะสม ?
ขึ้นอยู่กับการใช้ไฟฟ้า พฤติกรรม และงบประมาณ บ้านที่มีขนาดเท่ากัน ค่าไฟฟ้าเท่ากัน จะมีขนาดติดตั้งโซล่าเซลล์เท่ากัน... อันนี้ ไม่ถูกต้องนะครับ ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้าน เช่น
บ้าน A มีค่าไฟ 6500 บาท ใช้บ้านเป็นออฟฟิส เช้ามีพนักงานทำงาน ตกเย็นกลับกันหมด เจ้าของก็ไปนอนบ้านอื่น กลางคืนไม่มีคนอยู่บ้าน อันนี้ จะแนะนำให้ติดตั้ง โซล่าเซลล์ ระบบออนกริด ขนาด 10kWp ที่ประหยัดไฟได้ประมาณ 6000 บาทต่อเดือน
บ้าน B มีค่าไฟ 6500 บาท แต่ เด็กๆ ไปโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ ไปทำงาน กลับบ้านมาตอนเย็น ไม่มีใครอยู่บ้านตอนกลางวัน อันนี้ ติดโซล่าไปก็ไม่คุ้มครับ เพราะโซล่าผลิตไฟฟ้าให้เราตอนกลางวัน ตอนที่มีแสงแดด อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ Lux Dee Solar มีวิธี ที่จะช่วยให้ประหยัดไฟได้ถึง 60% ถึงแม้ว่า ไม่อยู่บ้านตอนกลางวัน อยากทราบไหม? Add lineOA มาเลย <เราจะแอบบอกให้>
4. พื้นที่หลังคาที่ใช้ติดตั้ง ต้องขนาดใหญ่แค่ไหน ?
ขึ้นอยู่กับขนาดแผง และกำลังผลิตที่ต้องการ เช่น ขนาด 5kW ใช้แผง 550Wp จำนวน 10 แผง ใช้พื้นที่ประมาณ 26-28 ตร.ม. (ต่อ การติดตั้งโซล่าเซลล์ 1kWp ใช้พื้นที่ประมาณ 4.8 ตร.ม.)
5. เงินลงทุนในการติดตั้งระบบ ประหยัดได้เท่าไหร่ และระยะเวลาคืนทุน?
ขึ้นอยู่กับขนาดระบบ ประเภทแผง เทคโนโลยี
ปัจจุบัน (อ้างอิง เดือนมีนาคม 2567 ขณะที่เขียนบทความนี้) การติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาดเล็ก(3-10 kWp) จะอยู่ที่วัตต์ละ 28-32 บาท (อยากทราบราคา ก็เอาขนาดติดตั้ง เช่น 5kW = 5000W x 28บาท หรือ 32บาท จะได้ราคา 5kW อยู่ที่ 140,000-160,000 บาท ทั้งนี้ ราคาขึ้นอยู่กับประเภท ยี่ห้อ และมาตรฐานการติดตั้งของบริษัทโซลาร์เซลล์
ความประหยัด ขึ้นอยู่กับการใช้ไฟด้วย ติดโซล่าเซลล์เท่ากัน แต่บ้านนึง ไม่ค่อยอยู่บ้านกลางวัน ผลิตมาไม่มีคนใช้ (แนะ จะบอกว่า ก็ทำขายไฟแล้วนี่ ไม่ใช้ ก็ ขาย ไปสิ ทำไมถึงประหยัดน้อยละ) คิดแบบนี้ใช่ไหมครับ ถูกครับ เราขายไฟได้ การไฟฟ้ารับซื้อไฟจากเราในราคา 2.6 บาท/หน่วย แต่ แต่ อย่าลืมนะ เราจ่ายค่าไฟให้การไฟฟ้า เฉลี่ยๆ 4.2 บาทต่อหน่วย ไม่รวมค่า FT ไม่รวม VAT ดังนั้น เม็ดเงินที่ประหยัดได้ จึงน้อยกว่า "ผลิตได้เท่าไหร่ ใช้เองให้หมด" คุ้มกว่าครับ ทีนี้ คำนวณยังไงละ บอกสูตรคร่าวๆ ให้ครับ ขนาดติดตั้งโซล่ากี่กิโลวัตต์ ให้คูณด้วย 600 จะได้ความประหยัดไฟต่อเดือน เช่น 5kW ให้คูณด้วย 600 จะได้คร่าวๆ ว่า ติดโซล่า 5kW ประหยัดไฟประมาณ 3000 บาทต่อเดือน <ทั้งนี้ ทั้งนั้น บริษัทโซล่าร์เซลล์ ควรทำแบบจำลองการผลิตไฟฟ้าให้เรา (ดังรูปข้างล่างนี้) เพราะแต่ละเดือนผลิตไฟฟ้าได้ไม่เท่ากันนะ ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย>
ระยะเวลาคืนทุน ให้เอา <ราคาติดตั้งโซลาร์> หารด้วย <ไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อเดือน> จะออกมาเป็นเดือน แล้ว หาร 12 เดือน จะได้ระยะเวลาคืนทุนเป็น ปี
6. การดูแลรักษาและทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์
เช็คก่อนนะ บริษัทโซลาร์นั้นๆ มีบริการล้างทำความสะอาดอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ไหม? (ขึ้นอยู่กับสภาพฝุ่นในพื้นที่) และเมื่อหมดระยะล้างฟรีแล้ว คิดค่่าบริการต่อครั้งเท่าไหร่
7. การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์
บริษัทโซลาร์ ที่ได้มาตรฐาน ต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้า, จุดเชื่อมต่อไฟฟ้า, วัดค่าทางไฟฟ้า, ตรวจสอบระบบสายดิน แล้วทำรายงานให้ด้วย เพื่อความอุ่นใจ มั่นใจ ในความปลอดภัย ถ้ามีแต่บริการล้างแผงอย่างเดียว ฮึ ฮึ คิดดูเอาเองนะครับ
8. การติดตามผลการผลิตไฟฟ้า
ตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชัน หรือระบบติดตามผล
9. การเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า
ทำตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า
10. สิทธิประโยชน์จากภาครัฐ
ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ เช่น การขายไฟ การลดหย่อนภาษี ฯลฯ
Comments